เดือน เมษายน 

1,541 ราย 71,041,410 บาท

 

กิจกรรมที่ผ่านมา

ทำบุญประจำปี 2561 ทำบุญประจำปี 2561
     เมื่อเสาร์ที่ 16 มิ...

Read more

ประชุมหัวหน้าหน่วย 2/2558 ประชุมหัวหน้าหน่วย 2/2558
วันที่ 18 เมษายน 2558  สหกรณ์กลุ่มรว...

Read more

ประชุมหัวหน้ากลุ่มครั้งที่ 1/2559 ประชุมหัวหน้ากลุ่มครั้งที่ 1/2559
  เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2559 ...

Read more

งานกีฬาสหกรณ์ งานกีฬาสหกรณ์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558  สหกรณ์กล่...

Read more

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557
วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2557 ประชุม...

Read more

ประชุมหัวหน้ากลุ่ม ครั้งที่ 1/2566 ประชุมหัวหน้ากลุ่ม ครั้งที่ 1/2566
  การประชุมหัวหน้ากลุ่มวันเสา...

Read more

ประกาศสหกรณ์กลุ่มรวมมิตร จำกัด เรื่อง นโบายและระเบียบวิธีการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ประกาศ

ดาวน์โหลดเอกสารคลิกที่นี่

สหกรณ์กลุ่มรวมมิตร จำกัด

เรื่อง นโยบายและระเบียบวิธีการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและ

ปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

1. หลักการและวัตถุประสงค์

          ตามมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542กำหนดคำนิยามของ “สถาบันการเงิน” ให้มีความหมายถึง (5) สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เฉพาะสหกรณ์ที่มีทุนดำเนินการซึ่งมีมูลค่าหุ้นรวมตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไปและมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการรับฝากเงินให้กู้ ให้สินเชื่อ รับจำนองหรือรับจำนำทรัพย์สิน หรือจัดให้ได้มาซึ่งเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ โดยวิธีใด ๆ ดังนั้น สหกรณ์กลุ่มรวมมิตร  จำกัด จึงถือเป็นสถาบันการเงินตามนัยของมาตรา 13แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

          สหกรณ์ ฯ จะสนับสนุนและพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันมิให้สหกรณ์ ฯ ถูกใช้เป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือในการฟอกเงินหรือการสนับสนุนการก่อการร้ายหรือการสนับสนุนการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและแนวทางปฏิบัติที่สำนักงาน ปปง. กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด สหกรณ์ ฯ จึงได้กำหนดให้มีนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงฉบับนี้ โดยผ่านการเห็นชอบและอนุมัติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ฯ ชุดที่ 22 ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566ซึ่งถือว่านโยบายฉบับนี้เป็นนโยบายหลักขององค์กรและมีความสำคัญเทียบเท่ากับนโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ดังนั้นผู้บริหารและพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้อย่างเคร่งครัด

 

2. คำจำกัดความ

          “การฟอกเงิน”หมายความว่า การนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาเปลี่ยนสภาพให้เป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาอย่างถูกต้อง

          “การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย”หมายความว่า บุคคลใดจัดหารวบรวม หรือดำเนินการทางการเงินหรือทรัพย์สินหรือดำเนินการด้วยประการใด ๆ เพื่อการก่อการร้าย หรือโดยรู้อยู่แล้วว่าผู้รับประโยชน์ทางการเงินหรือทรัพย์สินหรือจากการดำเนินการนั้น เป็นบุคคลที่ถูกกำหนด หรือโดยเจตนาให้เงินหรือทรัพย์สิน หรือการดำเนินการนั้นถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ของบุคคลที่ถูกกำหนดหรือของบุคคลคณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

          “การสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง”หมายความว่า ผู้ใดจัดหา รวบรวม หรือดำเนินการทางการเงินหรือทรัพย์สิน หรือดำเนินการด้วยประการใด ๆ เพื่อการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือโดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ได้รับประโยชน์ทางการเงินหรือทรัพย์สินหรือจากการดำเนินการนั้น เป็นบุคคลที่ถูกกำหนด หรือโดยเจตนาให้เงินหรือทรัพย์สินหรือการดำเนินการนั้นถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ของบุคคลที่ถูกกำหนด หรือของบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

          “ธุรกรรม”หมายความว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใด ๆ กับผู้อื่นทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน และให้รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์และรวมถึงการทำธุรกรรมที่ต่อเนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์และธุรกรรมที่กระทำครั้งหนึ่งครั้งใดของลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว

          “ลูกค้า”หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทางธุรกรรมกับสหกรณ์ซึ่งสำหรับสหกรณ์ หมายถึง ลูกค้าที่สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจและลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว

          “ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ”หมายความว่า การทำธุรกรรมระหว่างลูกค้าฝ่ายหนึ่งกับสหกรณ์อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บริการทางการเงิน ทางธุรกิจ ทางการค้า หรือทางวิชาชีพของสหกรณ์อย่างต่อเนื่องหรือในช่วงระยะเวลาที่ตกลงกัน

          “ธุรกรรมเป็นครั้งคราว”หมายความว่า การทำธุรกรรมระหว่างลูกค้าฝ่ายหนึ่งกับสหกรณ์อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บริการทางการเงิน ทางธุรกิจ ทางการค้า หรือทางวิชาชีพของสหกรณ์เป็นรายครั้งโดยไม่ได้มุ่งหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

          “ลูกค้าที่สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ”หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับสหกรณ์ ซึ่งสำหรับสหกรณ์ หมายถึง สมาชิกของสหกรณ์ หรือนิติบุคคลอื่น เช่น สหกรณ์อื่น เป็นต้น

          “ลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราว”หมายถึง บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมายที่มีการทางธุรกรรมกับสหกรณ์ เช่น บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสถานภาพความเป็นสมาชิกกับสหกรณ์ได้แก่ผู้รับผลประโยชน์กรณีสมาชิกถึงแก่กรรม หรือผู้ที่มาทำธุรกรรมแทนสมาชิกโดยไม่ได้มีการมอบฉันทะหรือมอบอำนาจอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

          “ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย”หมายความว่า ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากระทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542หรือเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งและให้หมายความรวมถึงการพยายามกระทำธุรกรรมด้วย

          “บุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย”หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งตกลงกันทางกฎหมายให้เป็นผู้ครอบครอง ใช้ จำหน่าย หรือบริหารจัดการทรัพย์สินไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เพื่อประโยชน์ของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง

          “ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง”หมายความว่า บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือมีอำนาจควบคุมความสัมพันธ์ทางธุรกิจของลูกค้ากับสหกรณ์หรือบุคคลที่ลูกค้าทำธุรกรรมแทน รวมถึงบุคคลผู้ใช้อำนาจควบคุมนิติบุคคลหรือบุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย

          “บุคคลที่ถูกกำหนด”หมายความว่า บุคคลคณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนด ให้เป็นผู้มีการกระทำ อันเป็นการก่อการร้ายหรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและสำนักงาน ปปง. ได้ประกาศรายชื่อนั้น หรือบุคคลคณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อที่ศาลได้พิจารณาและมีคำสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559

          “การจัดให้ลูกค้าแสดงตน”หมายความว่า การดำเนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าและการดำเนินการเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อมูลการแสดงตน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องวิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16

          “การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า”หมายความว่า กระบวนการที่กำหนดขึ้น เมื่อเริ่มมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าหรือมีการทำธุรกรรมกับลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวที่มีการทำธุรกรรมถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยการระบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตน ระบุผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและติดตามความเคลื่อนไหวทางการเงินจากการทำธุรกรรมของลูกค้าว่ามีพฤติการณ์ผิดปกติมีเหตุอันควรสงสัยหรือไม่ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้สหกรณ์ถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

3. หน้าที่และความรับผิดชอบ

          3.1ผู้บริหารสหกรณ์มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

                   3.1.1ต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงโดยกำหนดให้พนักงานต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย ระเบียบ คำสั่งและวิธีปฏิบัติของสหกรณ์อย่างเคร่งครัด

                   3.1.2พิจารณาใช้ดุลพินิจและอนุมัติขั้นตอนการดำเนินงานทั้งในกรณีปกติและกรณีที่ต้องได้รับการกลั่นกรองเป็นพิเศษ ในขั้นตอนการรับลูกค้าการประเมินความเสี่ยงลูกค้า และการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า

                   3.1.3กำหนดมาตรการควบคุมและจัดการความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ช่องทางการทางธุรกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ ของสหกรณ์

                   3.1.4กำหนดให้มีคำสั่งและคู่มือปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบาย ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ตามแนวปฏิบัติที่สำนักงาน ปปง. กำหนด

                   3.1.5กำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้เป็นไปตามคำสั่ง ระเบียบและแนวปฏิบัติตามนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงโดยเคร่งครัด

                   3.1.6สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อย่างเพียงพอจนสามารถปฏิบัติงานในกระบวนการรับลูกค้า การบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   3.1.7ในกรณีที่มีสาขา สหกรณ์กำหนดให้สาขาปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมินบริหารและบรรเทาความเสี่ยงภายในองค์กรของสหกรณ์และนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายใน อย่างเคร่งครัด

          3.2พนักงานทุกระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

          พนักงานทุกระดับ มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบ และแนวปฏิบัติิที่สหกรณ์ ฯ กำหนดขึ้นภายใต้นโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงโดยเคร่งครัด

4. สาระสำคัญของนโยบายและระเบียบวิธีการด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกัน

และปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ประกอบด้วย

          4.1นโยบายและระเบียบวิธีการในการประเมิน บริหาร และบรรเทาความเสี่ยงภายในองค์กร

          สหกรณ์ ฯ กำหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการ พร้อมทั้ง ดำเนินการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรของสหกรณ์ โดยนำปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับลูกค้าพื้นที่หรือประเทศผลิตภัณฑ์ หรือบริการธุรกรรมหรือช่องทางในการให้บริการมาประกอบการพิจารณาประเมินความเสี่ยง และนำผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวมากำหนดมาตรการและวิธีการในการบริหารและบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมกับผลการประเมินความเสี่ยงนั้น และนำผลการประเมินและบริหารความเสี่ยงตามรายงานการประเมินความเสี่ยงระดับชาติที่สำนักงาน ปปง. จัดทำมาพิจารณาประกอบด้วย โดยจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างน้อยปีละ1ครั้งและปรับปรุงผลการประเมินความเสี่ยงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

          4.2นโยบายและระเบียบวิธีการในการรับลูกค้า

          สหกรณ์ ฯ มีการกำหนดกระบวนการเพื่ออนุมัติการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรม หรือปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมกับลูกค้าโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดให้ลูกค้าแสดงตน การระบุตัวตนของลูกค้า และการพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้ากับข้อมูลรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมถึงสหกรณ์จัดให้มีแนวปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรดำเนินการตามขั้นตอนการรับลูกค้า โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการขอหรือแสวงหาข้อมูลการแสดงตนของลูกค้าและการระบุตัวตนของลูกค้า การตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า การพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าการหาผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า การตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด และการอนุมัติหรือปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรม นับแต่เมื่อได้รับแจ้งความประสงค์จากลูกค้า

          4.3นโยบายและระเบียบวิธีการในการบริหารและบรรเทาความเสี่ยงของลูกค้า

          สหกรณ์ ฯ มีการกำหนดหลักการบริหารความเสี่ยงสำหรับลูกค้าทั้งหมด โดยพิจารณาปัจจัยในการกำหนดความเสี่ยงไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดและจะดำเนินการบริหารและบรรเทาความเสี่ยงตลอดระยะเวลาที่ดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าและสิ้นสุดลงเมื่อยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าโดยการบริหารความเสี่ยง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินเพื่อระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าการกำหนดระดับความเสี่ยงสำหรับลูกค้าแต่ละราย การตรวจสอบความคลื่อนไหวในการทำธุรกรรมซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้า การตรวจทานข้อมูลการพิสูจน์ทราบลูกค้าซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้า การตรวจทานข้อมูลการพิสูจน์ทราบลูกค้าซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้าการทบทวนการประเมินความเสี่ยง จนถึงการยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าแต่ละรายและจะดำเนินการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้สหกรณ์ได้กำหนดแนวปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงของลูกค้าในบริการทุกประเภทและในทุกช่องทางที่ให้บริการ

          4.4นโยบายและระเบียบวิธีการในการประเมินความเสี่ยงสำหรับผลิตภัณฑ์ บริการ และช่องทางการ

ให้บริการ

                   4.4.1สหกรณ์จะต้องกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีการในการประเมินความเสี่ยงสำหรับผลิตภัณฑ์ บริการ และช่องทางการบริการ โดยจะต้องดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์และปัจจัยความเสี่ยงในการประเมินความเสี่ยงสำหรับผลิตภัณฑ์ บริการ และช่องทางการให้บริการ ให้สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด

                   4.4.2กรณีที่สหกรณ์จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การให้บริการใหม่ รูปแบบใหม่ในการดำเนินธุรกิจ หรือช่องทางหรือกลไกใหม่ในการให้บริการ หรือนำเทคโนโลยีใหม่หรือเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนามาใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่เดิมและที่จะมีขึ้นใหม่สหกรณ์จะระบุและประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่อาจเกิดขึ้นให้แล้วเสร็จก่อนการดำเนินการดังกล่าว และจะกำหนดมาตรการในการบริหารและบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมและสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

                   4.4.3สหกรณ์จะถือเอาผลการระบุและประเมินความเสี่ยงตามข้อ 4.4.2เป็นหนึ่งในปัจจัยการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรตามข้อ 4.1ด้วย

                   4.4.4กรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถกำหนดมาตรการในการบริหารและบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมตามข้อ 4.4.2ได้สหกรณ์จะไม่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่การให้บริการใหม่ รูปแบบใหม่ในการดำเนินธุรกิจช่องทางหรือกลไกใหม่ในการให้บริการ หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการออกผลิตภัณฑ์และบริการ

          4.5การรายงานการทำธุรกรรม

          สหกรณ์ ฯ กำหนดแนวทางการรายงานการทำธุรกรรมตามประเภทของธุรกรรม วิธีการและขั้นตอนการรายงานการทำธุรกรรมให้ชัดเจน โดยให้เป็นไปตามแบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

          4.6การควบคุมภายใน

          สหกรณ์ ฯ กำหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในให้เหมาะสมกับความเสี่ยงภายในองค์กรและขนาดธุรกิจของสหกรณ์ ดังนี้

                   4.6.1สหกรณ์กำหนดโครงสร้างในการกำกับดูแล โดยให้มีส่วนงานหรือพนักงานผู้รับผิดชอบ และมีพนักงานระดับผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ทั้งนี้สหกรณ์จะจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อดำเนินการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

                   4.6.2สหกรณ์กำหนดแนวทางขั้นตอนและวิธีการในการคัดเลือกพนักงานก่อนการว่าจ้างที่มีมาตรฐาน เพื่อคัดเลือกพนักงานที่จะมาปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยจัดให้มีขั้นตอนและวิธีการที่มีมาตรฐานในระดับสูงในการคัดเลือกบุคคล เช่น การตรวจสอบประวัติอาชญากรรม หรือการตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด

                   4.6.3สหกรณ์ ฯ จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงตั้งแต่ก่อนเริ่มปฏิบัติงานและอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานนั้น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

                   4.6.4สหกรณ์กำหนดให้มีส่วนงานหรือพนักงานผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระจากการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงภายในองค์กรเพื่อตรวจสอบระบบการดำเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และจัดให้มีรายงานผลการตรวจสอบภายในนั้นต่อพนักงานระดับผู้บริหารที่มีหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจทราบด้วย

          4.7การเก็บรักษาข้อมูล

          สหกรณ์กำหนดมาตรการเกี่ยวกับวิธีการขั้นตอน และรายละเอียดในการเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดให้ลูกค้าแสดงตน ข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรม และข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้หากสำนักงาน ปปง. ขอตรวจสอบข้อมูล สหกรณ์มีข้อมูลให้ตรวจสอบได้ และสามารถจัดส่งข้อมูลตามที่สำนักงาน ปปง. ร้องขอได้ตามกำหนดเวลา

          4.8การร่วมใช้ข้อมูลระหว่างสหกรณ์กับสาขา

                   4.8.1สหกรณ์กำกับดูแลให้สำนักงานสาขาปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบวิธีการสำหรับการประเมิน บริหาร และบรรเทาความเสี่ยงภายในองค์กรของสหกรณ์ และนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในของสหกรณ์

                   4.8.2สหกรณ์กำหนดให้มีมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับการร่วมใช้ข้อมูลระหว่างสหกรณ์กับสาขา และกำหนดให้มีมาตรการในการรักษาความลับจากการร่วมใช้ข้อมูล และห้ามเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ อันอาจทำให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับการร่วมใช้ข้อมูลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เว้น แต่มีกฎหมายภายในประเทศหรือต่างประเทศกำหนดเกี่ยวกับการใช้การเปิดเผย หรือการร่วมใช้ข้อมูล ของลูกค้าไว้แล้วก็ให้ ถือปฏิบัติตามนั้น

5. สาระสำคัญของนโยบายในการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่

การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

          สหกรณ์ ฯ กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงให้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนั้น

          5.1สหกรณ์มีมาตรการเกี่ยวกับขั้นตอนในการอนุมัติรับลูกค้าหรืออนุมัติสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าอย่างเคร่งครัด และมาตรการเกี่ยวกับขั้นตอนในการรับทำธุรกรรมกับลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวรวมถึงปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ในเรื่องการรับลูกค้า

          5.2สหกรณ์มีมาตรการในการดำเนินการให้ข้อมูลรายชื่อของบุคคลที่ถูกกำหนดเป็นปัจจุบันอยู่เสมอโดยตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดจากเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. ทุกวัน หรือตรวจสอบจากระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด (AMLO Person ScreeningSystem: APS) และนำรายชื่อของบุคคลที่ถูกกำหนดดังกล่าวมาปรับปรุงในฐานข้อมูลของลูกค้าเพื่อทำการตรวจสอบลูกค้าต่อไป

          5.3สหกรณ์มีมาตรการในการตรวจสอบข้อมูลรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดกับลูกค้าโดยตรวจสอบกับข้อมูลลูกค้าของสหกรณ์ทุกครั้งก่อนอนุมัติสร้างความสัมพันธ์รับเป็นลูกค้าและตรวจสอบข้อมูลลูกค้าทั้งหมดของสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมถึงตรวจสอบรายชื่อลูกค้าที่ทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวทุกครั้งก่อนรับทำธุรกรรม

          5.4เมื่อสหกรณ์ตรวจสอบพบว่าลูกค้าที่ประสงค์จะสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทำธุรกรรมเป็นครั้งคราวมีความเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สหกรณ์ทำการปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ปฏิเสธการทำธุรกรรม หรือยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

          5.5ในกรณีที่สหกรณ์พบว่าธุรกรรมใดเกี่ยวข้องหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือเป็นธุรกรรมที่กระทำกับหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลที่ถูกกำหนด สหกรณ์จะทำการรายงานเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อสำนักงาน ปปง. ตามแบบรายงานการทำธุรกรรม ระยะเวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

          5.6สหกรณ์กำหนดมาตรการในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการทำธุรกรรมและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการทำธุรกรรมของลูกค้า ตลอดระยะเวลาที่ยังดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจจนกว่าจะยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือไม่ทำธุรกรรมกับลูกค้าดังกล่าว

          5.7หากพบว่าลูกค้าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด สหกรณ์จะต้องดำเนินการ ดังนี้

                   5.7.1ระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนด รวมทั้งของผู้กระทำการแทน หรือตามคำสั่งของผู้นั้น หรือของกิจการภายใต้การครอบครองหรือการควบคุมของผู้นั้น และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกระงับการดำเนินการ ตามแบบ ปกร 03ภายใน 10วันทำการนับแต่วันที่ได้ระงับการดำเนินการกับ ทรัพย์สินนั้น ไปยังสำนักงาน ปปง

                   5.7.2ดำเนินการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้า ซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดหรือผู้ที่มีหรือเคยมีการทำธุรกรรมกับผู้นั้น ตามแบบ ปกร 04ภายใน 10วันทำการนับแต่วันที่พบข้อมูลนั้นทั้งนี้ต้องตรวจสอบย้อนหลังไม่เกินสองปีก่อนวันที่มีประกาศหรือมีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด

                   5.7.3การแจ้งข้อมูลตามแบบ ปกร 03หรือแบบ ปกร 04ไปยังสำนักงาน ปปง. ดำเนินการด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

                   (1) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

                   (2) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

                   (3) ส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

          5.8สหกรณ์กำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยงหรือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบลูกค้าที่มีสัญชาติ ภูมิลำเนา หรือที่อยู่ปัจจุบัน ในพื้นที่หรือประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและกำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือทำธุรกรรมกับลูกค้าทั้งหมดอย่างเคร่งครัด

          5.9สหกรณ์กำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยงหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะได้จดทำ หรือพัฒนาขึ้นใหม่หรือให้บริการในอนาคตจะไม่ถูกใช้เป็นช่องทางในการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและหากเกิดดังกล่าวขึ้นผู้มีหน้าที่รายงานต้องกำหนดมาตรการที่จะทำให้ตรวจพบได้อย่างรวดเร็วและกำหนดมาตรการในการดำเนินการเพื่อบรรเทาความเสียหายให้ได้มากที่สุด

          5.10สหกรณ์กำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เป็นช่องทางบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีลักษณะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้มีหน้าที่รายงานใช้เพื่อเชื่อมโยง ติดต่อ เข้าถึง การสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หรือการดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้า

          5.11สหกรณ์จะกำหนดปัจจัยความเสี่ยงอื่นที่อาจเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ไว้ในแนวปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ และคู่มือปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

6. การพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและระเบียบวิธีการ

          สหกรณ์กำหนดแผนในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและระเบียบวิธีการ รวมถึงแนวปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ และคู่มือปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ต้องได้รับการทบทวนเป็นระยะและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอโดยดำเนินการทบทวนนโยบายและระเบียบวิธีการ รวมถึงแนวปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ และคู่มือปฏิบัติ ว่ายังสอดคล้องกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่หรือไม่อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง หรือดำเนินการทันทีเมื่อสหกรณ์ทราบว่ากฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของทางราชการมีการเปลี่ยนแปลง

          นโยบายและระเบียบวิธีการข้างต้นให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29มีนาคม พ.ศ. 2566

(นายมนตรี สะระคำ)

ประธานกรรมการ

สหกรณ์กลุ่มรวมมิตร จำกัด

นายสมัคร  ศรีโมรา

ประธานคณะกรรมการ

สหกรณ์กลุ่มรวมมิตร จำกัด
 

นางธิดารัตน์  ดีเสมอ

ผู้จัดการ
สหกรณ์กลุ่มรวมมิตร จำกัด

หมายเลขบัญชี

 

 

สถิติผู้เข้าชม

1245659
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
All days
21625
15051
56060
1173314
36761
41595
1245659

ไอพีของคุณ: 18.119.164.249
เวลา: 03-05-25 10:55:16